Assignment ERP

โพสท์ใน Uncategorized | ใส่ความเห็น

Cloud Computing ?

Cloud Computing คืออะไร  มีประโยชน์อย่างไรกับธุรกิจในปัจจุบัน

คำว่า Cloud Computing มีผู้ได้ให้คำนิยามไว้หลากหลาย เช่น

”การประมวลผลที่อิงกับความต้องการของผู้ใช้ โดยผู้ใช้สามารถระบุความต้องการไปยังซอฟต์แวร์ของระบบ Cloud Computing จากนั้นซอฟต์แวร์จะร้องขอให้ ระบบ จัดสรรทรัพยากรและบริการให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ โดยระบบสามารถเพิ่มหรือลดจำนวนทรัพยากรให้พอเหมาะกับความต้องการของผู้ใช้ โดยที่ผู้ใช้ไม่ต้องทราบการทำงานเบื้องหลังว่าเป็นอย่างไร” โดย JavaBoom Collection

หรือ คำนิยามจากวิกิพีเดีย ที่ว่า “Cloud Computing อ้างถึงทรัพยากรสำหรับการคำนวณผลที่ถูกเข้าถึง ซึ่งโดยทั่วไปถูกเป็นเจ้าของและถูกดำเนินการโดยผู้ให้บริการบุคคลที่ 3 (third-party provider) ซึ่งได้รวบรวมพื้นฐานที่จำเป็นทั่วไปเข้าไว้ด้วยกันในตำแหน่งที่ตั้งของศูนย์คอมพิวเตอร์ (Data Center)  โดยผู้บริโภคบริการ cloud computingเสียค่าใช้จ่ายเพื่อความสามารถการคำนวณหรือการประมวลผลตามที่ต้องการ และไม่จำเป็นต้องรู้หรือเข้าใจในเทคโนโลยีที่สำคัญซึ่งซ่อนอยู่ อันที่ถูกใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องแม่ข่าย (server)  อย่างไรก็ตามมีตัวเลือกสำหรับผู้พัฒนาที่ต้องรู้และต้องคำนึงถึงในเทคโนโลยีสำคัญซึ่งซ่อนอยู่ในส่วนของการบริการแพล็ตฟอร์ม (platform services)

การที่มีบางท่านให้คำนิยาม Cloud Computing ว่า “การประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ”  นั้น ผู้เขียนเข้าใจว่าอาจเป็นเพราะ Cloud Computing เป็นการทำงานโดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่มากมายบนระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ซึ่งเราเพียงแต่เชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต โดยไม่ต้องสนใจว่าทรัพยากรที่ใช้อยู่นั้นมาจากต่างที่ต่างระบบเครือข่าย ทั้งที่อยู่ใกล้ ๆ หรือไกลออกไป เป็นการใช้ทรัพยากรภายในเครือข่ายขนาดใหญ่ จึงใช้สัญลักษณ์รูปก้อนเมฆแทนที่ตั้งของทรัพยากรคอมพิวเตอร์ทั้งหมดที่มีไว้ ให้บริการโดยผู้ให้บริการบุคคลที่สามแทน

มาถึงตรงนี้คงพอจะเห็นภาพของ Cloud Computing บ้างแล้ว จึงขอกล่าวถึงคำที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ อีก เช่น

  • Cloud Provider สำหรับคำนี้คงไม่ต้องอธิบายมาก เพราะหมายถึงผู้ให้บริการระบบ Cloud นั่นเอง
  • Cloud Storage คือสถานที่เก็บทรัพยากรสำหรับระบบ Cloud

ความแตกต่างระหว่าง Cloud Computing กับ Hosting ประเภทต่างๆ เช่น  Application Hosting หรือพื้นที่ให้บริการโปรแกรมประยุกต์, Web Hosting หรือพื้นที่ให้บริการเว็บไซต์, File Hosting หรือพื้นที่ให้บริการจัดเก็บไฟล์ข้อมูลนั้น อยู่ตรงที่ Cloud Storage มี อิสระในการปรับขีดความสามารถ สมรรถนะ และขนาดทรัพยากรได้ตามภาระงาน เนื่องจากไม่มีข้อจำกัดในการขยายทรัพยากรสำหรับผู้ให้บริการ เพราะมีความร่วมมือกับผู้ให้บริการบุคคลที่สามที่เป็นผู้จัดหาและจัดสรร ทรัพยากรอยู่แล้ว ดังนั้นไม่ว่าจำนวนโปรแกรมจะใช้ทรัพยากรในการประมวลผลมากขึ้นเท่าไร หรือต้องใช้พื้นที่ในการเก็บข้อมูลเพิ่มขึ้นอีกเท่าไหร่ ผู้ใช้บริการ และผู้ให้บริการ Cloud ไม่จำเป็นต้องกังวลในข้อจำกัดนี้ อย่างไรก็ตามเรื่องค่าใช้จ่ายนั้นจะขึ้นกับการจ่ายตามที่ใช้จริง (pay-per-use) และอาจมีเรื่องอื่นๆ อีกขึ้นอยู่กับข้อตกลงของแต่ละเจ้าที่ให้บริการ โดยปัจจุบันมีผู้ให้บริการอยู่มากมาย เช่น Google Apps, Google App Engine, IBM Blue Cloud, Amazon EC2 เป็นต้น

ข้อดี ข้อเสีย
1.ลด ต้นทุนค่าดูแลบำรุงรักษาเนื่องจากค่าบริการได้รวมค่าใช้จ่ายตามที่ใช้งาน จริง เช่น ค่าจ้างพนักงาน ค่าซ่อมแซม ค่าลิขสิทธิ์ ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำ ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง ค่าอัพเกรด และค่าเช่าคู่สาย เป็นต้น

2.ลดความเสี่ยงจากการเริ่มต้นหรือทดลองโครงการ

3.มีความยืดหยุ่นในการเพิ่มหรือลดระบบตามความต้องการ

4.ได้เครื่องแม่ข่ายที่มีประสิทธิภาพ มีระบบสำรองข้อมูลที่ดี มีเครือข่ายความเร็วสูง

5.มีผู้เชี่ยวชาญดูแลระบบและพร้อมให้บริการช่วยเหลือ 24 ชั่วโมง

1.เนื่อง จากเป็นการใช้ทรัพยากรที่มาจากหลายที่หลายแห่งทำให้อาจมีปัญหาในเรื่องของ ความต่อเนื่องและความเร็วในการเข้าทรัพยากรมากกว่าการใช้บริการ Host ที่ Local หรืออยู่ภายในองค์การของเราเอง

2.ยังไม่มีการรับประกันในการทำงานอย่างต่อเนื่องของระบบและความปลอดภัยของข้อมูล

3.ความไม่มีมาตรฐานของแพลทฟอร์ม ทำให้ลูกค้ามีข้อจำกัดสำหรับตัวเลือกในการพัฒนาหรือติดตั้งระบบ

Cloud Computing กับความปลอดภัย (Security)

ในประเด็นเรื่องความปลอดภัยนั้น อันที่จริงในเชิงเทคนิคลูกค้าหรือผู้ใช้บริการสามารถทำได้ในระดับหนึ่ง เช่น การทำ Virtualization โดยลูกค้ามีสิทธิ์เต็มที่ในลักษณะของผู้ดูแลระบบเพื่อการกำหนดความปลอดภัยให้กับเครื่อง หรือ Virtual Machine ของตน, การใช้ระบบแจ้งเตือนเมื่อมีผู้ดูแลระบบพยายามดูข้อมูลของลูกค้า และการMonitoring ทั้งห้อง data center จนถึงขั้น capture หน้าจอ admin

แต่ทั้งนี้ยังคงมีจุดอ่อนสำคัญที่ผู้ใช้บริการควรตระหนักถึง นั่นคือ เมื่อเป็นการจ้างให้บุคคลภายนอกเข้ามาดูแลระบบของเรา เราจะมั่นใจได้อย่างไรว่าคนนั้นจะไม่แอบเก็บข้อมูลไปใช้เพื่อประโยชน์ของตน เองหรือเปิดเผยข้อมูลแก่บุคคลอื่น ยิ่งถ้าเป็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของประเทศ ข้อมูลยิ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมากๆ หรือถ้าเป็นองค์กรทางด้านการเงิน ถึงแม้เราจะมีระบบตรวจสอบ หรือ audit เพื่อติดตาม ว่าใครทำอะไร ตรงไหน แต่เมื่อเกิดเหตุและจับได้ก็คงทำได้แค่ลงโทษตามกฎบริษัทหรือดำเนินคดีตาม กฎหมาย แต่ความเสียหายได้เกิดขึ้นแล้ว อย่างไรก็ตามไม่ว่าจะเป็นการจัดจ้างบุคคลภายนอก (outsourcing) หรือ ใช้บุคลากรภายใน เหตุการณ์เช่นนี้ก็สามารถเกิดขึ้นได้ ดังนั้นเราต่างต้องอาศัยความเชื่อใจและใช้จรรยาบรรณในการประกอบอาชีพ สิ่งที่ผู้ให้บริการ Cloud หรือ Cloud Provider ทำให้ได้ ก็คือ การรับประกันสัญญา หรือกำหนดมาตรฐานการดูแลระบบ และยึดมั่นในมาตรฐานนั้น นอกจากนี้ควรมีการควบคุมการเปิดให้บริการของ Cloud Provider นั่นคือ มีการกำหนดว่าบริษัทที่จะเป็น Cloud Provider ได้ อาจต้องได้รับการรับรอง หรือมี certification อะไรรับรองบ้าง ต้องมี ISO ควบคุม และต้องมีเทคโนโลยีความปลอดภัยอะไรเสนอต่อลูกค้า (Cloud Consumer) บ้าง เป็นต้น

ที่มา : http://zolomoe.exteen.com

 

โพสท์ใน Cloud Computing คืออะไร | ใส่ความเห็น

Weblog ?

Weblog (อ่านว่า เวบ-บล็อก )หรือ เรียกสั้นๆว่า Blog (อ่านว่า บล็อก) คือ Website หนึ่งที่บันทึกเรื่องราวต่างๆ ที่ผู้เขียนต้องการสื่อสารในเรื่องราวต่างๆที่ต้องการ โดยสามารถนำเสนอได้ทั้งในรูปแบบของตัวอักษร รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว และเสียง และสามารถ update และเพิ่มเติมเนื้อหาเดิมได้ตลอด หรือจะเขียนเป็นลักษณะไดอะรี่ส่วนตัวก็ยังได้ ซึ่งBlog มีความแตกต่างจาก Webboard คือ Blog มีความเป็นเนื้อหาที่กว้างขวาง มีเนื้อหาที่น่าสนใจ หลากหลาย และส่วนหนึ่งเป็นเนื้อหาที่มีความน่าเชื่อถือ ให้ความรู้ได้ต่อเนื่อง และเราสามารถเป็นผู้เขียนและเป็นเจ้าของเรื่องราวที่จะนำเสนอเองได้ โดยบาง website เปิดโอกาสให้เราได้สมัครสมาชิกเป็นเจ้าของ Blog ของเราเองได้ ด้วย

Blog มีประโยช์กับธุรกิจอย่างไร

ปัจจุบันนี้ บริษัทชั้นนำต่าง ๆ ของโลก ได้หันมาจับตามอง Blog ซึ่งเป็นรูปแบบของการ Marketing แบบใหม่ เนื่องจาก Blogger จะมีความใกล้ชิดสนิทสนมกับผู้อ่าน Blog สูงมาก เนื่องจากทั้งสองฝ่าย สามารถโต้ตอบกันได้โดยตรง

การที่ใช้ Blog มาเป็นเครื่องมือทางการตลาดนั้น อาจเรียกได้ว่าเป็น Buzz Marketing
บางบริษัทอาจเลือกเจ้าของ Blog ให้เป็น presenter ให้กับผลิตภัณฑ์ของตนเอง
เช่นเสนอสินค้า ให้เจ้าของ Blog นำไปเขียนวิจารณ์หรือเขียนถึงใน Blog ของตนเป็นต้น

บางบริษัทใช้ Blog เพื่อเป็นเครื่องมือสื่อสาร หรือ PR ข่าวสารขององค์กร โดยการใช้ Blog เพื่อประกาศข่าวสารนั้น จะดูมีความเป็นกันเอง และเข้าถึงลูกค้าได้อย่างเป็นมิตร เพราะเนื่องจากลูกค้าสามารถฝาก comment หรือสื่อสารกับเจ้าของ Blog ได้ทันที ทำให้บริษัทเอง จะได้ประโยชน์จากคำแนะนำ ที่ตรงไปตรงมาของลูกค้าอีกด้วย บริษัทชั้นนำต่างเลือกที่จะใช้ Blog มาเป็นเครื่องมือทางการตลาดกันแล้ว โดยบางแห่งใช้ทั้ง Blog อย่างเป็นทางการของบริษัท แถมยังเปิดให้พนักงานได้เขียน Blog ของตนเองอีกด้วย โดยวิธีการนี้นับเป็นการทำการตลาด โดยการสร้างการรับรู้ตราสินค้า (Brand)
โดยทางอ้อมอีกด้วย

นอกเหนือจากองค์กรธุรกิจแล้ว บุคคลที่ทำงานคนเดียวหรือเป็นกลุ่ม สามารถใช้ Blog เพื่อเป็นการเผยแพร่ผลงาน หรือขายสินค้าของตนได้อีกด้วยเช่น ช่างภาพ, ศิลปิน, นักออกแบบ, นักเขียน,
นักวาดการ์ตูน , ร้านค้า , ฯลฯ

ที่มา : http://wittybuzz.blogspot.com

โพสท์ใน Weblog คืออะไร | ใส่ความเห็น

การใช้อินเตอร์เน็ตให้ปลอดภัย

หลักการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัย

ในปัจจุบันมีผู้ใช้บริการ บนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ได้เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆทั่วโลก เพราะเป็นช่องทางที่สามารถติดต่อสื่อสาร แลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้อย่างรวดเร็ว รวมถึงธุรกิจและพาณิชย์ในด้านต่างๆ ช่วยในเรื่องการลดระยะเวลาและต้นทุนในการติดต่อสื่อสาร แต่อย่างไรก็ตามผู้ใช้โดยทั่วไป ยังไม่เห็นความสำคัญ ของการใช้งานอินเทอร์เน็ตที่ปลอดภัยเท่าที่ควร เนื่องจากยังขาดความรู้ในการใช้งานและวิธีป้องกัน หรืออาจคิดว่าคงไม่มีปัญหาอะไรมาก ในการใช้งาน แต่เมื่อเกิดปัญหาขึ้นกับตัวเองแล้ว ก็ทำให้ตนเองเดือดร้อน เราสามารถป้องกันปัญหาเหล่านี้ได้ ดังนี้

1 ไม่ควรเปิดเผยข้อมูลส่วนตัว

2 ไม่ส่งหลักฐานส่วนตัวของตนเองและคนในครอบครัวให้ผู้อื่น เช่น สำเนาบัตรประชาชน เอกสารต่างๆ รวมถึงรหัสบัตรต่างๆ เช่น เอทีเอ็ม บัตรเครดิต ฯลฯ

3 ไม่ควรโอนเงินให้ใครอย่างเด็ดขาด นอกจากจะเป็นญาติสนิทที่เชื่อใจได้จริงๆ

4 ไม่ออกไปพบเพื่อนที่รู้จักทางอินเทอร์เน็ต เว้นเสียแต่ว่าได้รับอนุญาตจากพ่อแม่ผู้ปกครอง และควรมีผู้ใหญ่หรือเพื่อนไปด้วยหลายๆ คน เพื่อป้องกันการลักพาตัว หรือการกระทำมิดีมิร้ายต่างๆ

5 ระมัดระวังการซื้อสินค้าทางอินเทอร์เน็ต รวมถึงคำโฆษณาชวนเชื่ออื่นๆ เด็กต้องปรึกษาพ่อแม่ผู้ปกครอง โดยต้องใช้วิจารณญาณ พิจารณาความน่าเชื่อถือของผู้ขาย

6 สอนให้เด็กบอกพ่อแม่ผู้ปกครองหรือคุณครู ถ้าถูกกลั่นแกล้งทางอินเทอร์เน็ต (Internet Bullying)

7 ไม่เผลอบันทึกยูสเซอร์เนมและพาสเวิร์ดขณะใช้เครื่องคอมพิวเตอร์สาธารณะ อย่าบันทึก!ชื่อผู้ใช้และพาสเวิร์ดของคุณบนเครื่องคอมพิวเตอร์นี้” อย่างเด็ดขาด เพราะผู้ที่มาใช้เครื่องต่อจากคุณ สามารถล็อคอินเข้าไป จากชื่อของคุณที่ถูกบันทึกไว้ แล้วสวมรอยเป็นคุณ หรือแม้แต่โอนเงินในบัญชีของคุณจ่ายค่าสินค้าและบริการต่างๆ ที่เขาต้องการ ผลก็คือคุณอาจหมดตัวและล้มละลายได้

8 ไม่ควรบันทึกภาพวิดีโอ หรือเสียงที่ไมเหมาะสมบนคอมพิวเตอร์ หรือบนมือถือ เพราะภาพ เสียง หรือวีดีโอนั้นๆ รั่วไหลได้ เช่นจากการแคร็ก ข้อมูล หรือถูกดาวน์โหลดผ่านโปรแกรม เพียร์ ทู เพียร์ (P2P) และถึงแม้ว่าคุณจะลบไฟล์นั้นออกไปจากเครื่องแล้ว ส่วนใดส่วนหนึ่งของไฟล์ยังตกค้างอยู่ แล้วอาจถูกกู้กลับขึ้นมาได้ โดยช่างคอม ช่างมือถือ

9 จัดการกับ Junk Mail จังค์ เมล์ หรือ อีเมล์ขยะ ปกติ การใช้อีเมล์จะมีกล่องจดหมายส่วนตัว หรือ Inbox กับ กล่องจดหมายขยะ Junk mail box หรือ Bulk Mail เพื่อแยกแยะประเภทของอีเมล์ เราจึงต้องทำความเข้าใจ และเรียนรู้ที่จะคัดกรองจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ด้วยตัวเอง เพื่อกันไม่ให้มาปะปนกับจดหมายดีๆ ซึ่งเราอาจเผลอไปเปิดอ่าน แล้วถูกสปายแวร์ แอดแวร์เกาะติดอยู่บนเครื่อง หรือแม้แต่ถูกไวรัสคอมพิวเตอร์เล่นงาน

10 จัดการกับแอดแวร์ สปายแวร์ จัดการกับสปายแวร์แอดแวร์ที่ลักลอบเข้ามาสอดส่องพฤติกรรมการใช้เน็ตของคุณ ด้วยการซื้อโปรแกรมหรือไปดาวน์โหลดฟรีโปรแกรมมาดักจับและขจัดเจ้าแอดแวร์ สปายแวร์ออกไปจากเครื่องของคุณ ซึ่งสามารถดาวน์โหลดโปรแกรมฟรีได้ที่ แต่แค่มีโปรแกรมไว้ในเครื่องยังไม่พอ คุณต้องหมั่นอัพเดทโปรแกรมออนไลน์และสแกนเครื่องของคุณบ่อยๆด้วย เพื่อให้เครื่องของคุณปลอดสปาย ข้อมูลของคุณก็ปลอดภัย * โปรแกรมล้าง แอดแวร์ และ สปายแวร์ จะใช้โปรแกรมตัวเดียวกัน ซึ่งบางครั้งเขาอาจตั้งชื่อโดยใช้แค่เพียงว่า โปรแกรมล้าง แอดแวร์ แต่อันที่จริง มันลบทิ้งทั้ง แอดแวร์ และสปายแวร์พร้อมๆ กัน เพราะเจ้าสองตัวนี้ มันคล้ายๆ กัน

11 จัดการกับไวรัสคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจำเป็นต้องมีโปรแกรมสแกนดักจับและฆ่าไวรัส ซึ่งอันนี้ควรจะดำเนินการทันทีเมื่อซื้อเครื่องคอม เนื่องจากไวรัสพัฒนาเร็วมาก มีไวรัสพันธุ์ใหม่เกิดขึ้นทุกวัน แม้จะติดตั้งโปรแกรมฆ่าไวรัสไว้แล้ว ถ้าไม่ทำการอัพเดทโปรแกรมทางอินเทอร์เน็ต เวลาที่มีไวรัสตัวใหม่ๆ แอบเข้ามากับอินเทอร์เน็ต เครื่องคุณก็อาจจะโดนทำลายได้

12 ใช้ Adult Content Filter ในโปรแกรม P2P สำหรับผู้ชื่นชอบการดาวน์โหลดผ่านโปรแกรมแชร์ข้อมูล P2P ให้ระวังข้อมูลสำคัญ ไฟล์ภาพ วีดีโอส่วนตัว หรืออะไรที่ไม่ต้องการจะเปิดเผยสู่สาธารณะชน ควรบันทึกลงซีดี ดีวีดี หรือเทปไว้ อย่าเก็บไว้บนเครื่องคอมพิวเตอร์ เพราะคุณอาจถูกเจาะเอาข้อมูลเหล่านี้ไปได้

13 กรองเว็บไม่เหมาะสมด้วย Content Advisor ในอินเทอร์เน็ต เอ็กซ์พลอเรอ ในโปรแกรมเว็บ บราวเซอร์ อย่าง อินเทอร์เน็ต เอ็กซ์พลอเรอ ก็มีการตั้งค่า คอนเทนท์ แอดไวเซอร์ หรือฟังก์ชั่น การกรองเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมสำหรับเด็ก ซึ่งจะทำให้เด็กไม่สามารถเปิดเข้าไปในเว็บไซท์ที่มีภาพและเนื้อหา โป๊ เปลือย ภาษาหยาบคาย รุนแรงได้ และยังมีการตั้งพาสเวิร์ด หรือรหัส สำหรับผู้ปกครอง เพื่อกันเด็กเข้าไปแก้ไขการตั้งค่าของคุณ ซึ่งคุณสามารถเข้าไปปลดล็อกได้ทุกเมื่อ ถ้าคุณจำเป็นต้องเข้าเว็บไซท์บางเว็บไซท

แหล่งที่มาของข้อมูล : www.learners.in.th/blogs/posts

โพสท์ใน การใช้อินเตอร์เน็ตอย่างปลอดภัย, Uncategorized | ใส่ความเห็น

เทคนิคการใช้งานอินเตอร์เน็ต

การใช้งานอินเตอร์เน็ตในชีวิตประจำวัน

การประยุกต์ใช้อินเทอร์เน็ตในปัจจุบันทำได้หลากหลาย อาทิเช่น ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ อีเมล์ (e-Mail) , สนทนา (Chat), อ่านหรือแสดงความคิดเห็นในเว็บบอร์ด, การติดตามข่าวสาร, การสืบค้นข้อมูล / การค้นหาข้อมูล, การชม หรือซื้อสินค้าออนไลน์ , การดาวโหลด เกม เพลง ไฟล์ข้อมูล ฯลฯ, การติดตามข้อมูล ภาพยนตร์ รายการบันเทิงต่างๆ ออนไลน์, การเล่นเกมคอมพิวเตอร์ออนไลน์, การเรียนรู้ออนไลน์ (e-Learning), การประชุมทางไกลผ่านอินเทอร์เน็ต (Video Conference), โทรศัพท์ผ่านอินเทอร์เน็ต (VoIP), การอับโหลดข้อมูล หรือ อื่น

แนวโน้มล่าสุดของการใช้อินเทอร์เน็ตคือการใช้อินเทอร์เน็ตเป็นแหล่งพบปะสังสรรค์เพื่อสร้างเครือข่ายสังคม ซึ่งพบว่าปัจจุบันเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมดังกล่าวกำลังได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายเช่น เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ ไฮไฟฟ์ และการใช้เริ่มมีการแพร่ขยายเข้าไปสู่การใช้อินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือ (Mobile Internet) มากขึ้น เนื่องจากเทคโนโลยีปัจจุบันสนับสนุนให้การเข้าถึงเครือข่ายผ่านโทรศัพท์มือถือทำได้ง่ายขึ้นมาก

การใช้งานอินเตอร์เน็ตกับงานด้านต่าง ๆ
จากการที่คอมพิวเตอร์มีลักษณะเด่นหลายประการทำให้ถูกนำมาใช้ประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตประจำวันในสังคมเป็นอย่างมาก ที่พบเห็นได้บ่อยที่สุดก็คือ การใช้ในการพิมพ์เอกสารต่างๆ เช่น พิมพ์จดหมาย รายงาน เอกสารต่างๆ ซึ่งเรียกว่างานประมวลผล (word processing ) นอกจากนี้ยังมีการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ในด้านต่างๆ อีกหลายด้าน ดังต่อไปนี้
1. งานธุรกิจ เช่น บริษัท ร้านค้า ห้างสรรพสินค้า ตลอดจนโรงงานต่างๆ
ใช้คอมพิวเตอร์ในการทำบัญชี งานประมวลคำ และติดต่อกับหน่วยงานภายนอกผ่านระบบโทรคมนาคม นอกจากนี้งานอุตสาหกรรม ส่วนใหญ่ก็ใช้คอมพิวเตอร์มาช่วยในการควบคุมการผลิต
และการประกอบชิ้นส่วนของอุปกรณ์ต่างๆ เช่น โรงงานประกอบรถยนต์ ซึ่งทำให้การผลิตมีคุณภาพดีขึ้นบริษัทยังสามารถรับ หรืองานธนาคาร ที่ให้บริการถอนเงินผ่านตู้ฝากถอนเงินอัตโนมัติ ( ATM )
และใช้คอมพิวเตอร์คิดดอกเบี้ยให้กับผู้ฝากเงิน และการโอนเงินระหว่างบัญชี เชื่อมโยงกันเป็นระบบเครือข่าย
2. งานวิทยาศาสตร์ การแพทย์ และงานสาธารณสุข สามารถนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในนำมาใช้ในส่วนของการคำนวณที่ค่อนข้างซับซ้อน เช่น งานศึกษาโมเลกุลสารเคมี วิถีการโคจรของการส่งจรวดไปสู่อวกาศ หรืองานทะเบียน การเงิน สถิติ และเป็นอุปกรณ์สำหรับการตรวจรักษาโรคได้ ซึ่งจะให้ผลที่แม่นยำกว่าการตรวจด้วยวิธีเคมีแบบเดิม และให้การรักษาได้รวดเร็วขึ้น
3. งานคมนาคมและสื่อสาร ในส่วนที่เกี่ยวกับการเดินทาง จะใช้คอมพิวเตอร์ในการจองวันเวลา ที่นั่ง
ซึ่งมีการเชื่อมโยงไปยังทุกสถานีหรือทุกสายการบินได้ ทำให้สะดวกต่อผู้เดินทางที่ไม่ต้องเสียเวลารอ อีกทั้งยังใช้ในการควบคุมระบบการจราจร เช่น ไฟสัญญาณจราจร และ การจราจรทางอากาศ หรือในการสื่อสารก็ใช้ควบคุมวงโคจรของดาวเทียมเพื่อให้อยู่ในวงโคจร ซึ่งจะช่วยส่งผลต่อการส่งสัญญาณให้ระบบการสื่อสารมีความชัดเจน

แหล่งที่มาข้อมูลจาก : http://51011312007.blogspot.com

โพสท์ใน Assignment#2 เทคนิคการใช้งานอินเตอร์เน็ต | ใส่ความเห็น

Google Apps ?

Google Apps คืออะไร

Google Apps เป็น Solution การจัดการข้อมูลทุกชนิดสำหรับ บริษัท, องค์กร, ธุรกิจ, กลุ่ม, ชมรม ของท่าน เพื่อให้ “ข้อมูล” ต่างๆ สามารถ “เข้าถึงได้ง่าย” (Accessible) และ “คงทนถาวร” (Durability) มากที่สุด ซึ่งภายใน Google Apps นั้น ประกอบไปด้วยโปรแกรมต่างๆ ภายในดังนี้

  • Google Mail: จัดเก็บ รับ-ส่ง จดหมาย (E-mail) สำหรับองค์กรของท่าน สามารถใช้ Domain ของบริษัทท่านเป็น E-mail ได้ และปลอดภัยจากอีเมลล์ขยะ (Spam Filter)
  • Google Calendar: แบ่งปัน นัดหมายส่วนตัวของคนในองค์กร และใช้เป็นปฏิทินกลาง สำหรับแจ้งข้อมูลการเข้าประชุม, กำหนดการส่งของ และอื่นๆ ได้อย่างสร้างสรร
  • Google Docs: แชร์เอกสารทั้ง Word, Excel และ PPT เพื่อให้พนักงานในองค์กรสามารถ อ่านข้อมูล หรือแก้ไข ได้พร้อมๆ กัน แบบ Real-time
  • Google Sites: เว็บเพจกลางสำหรับใช้ภายในบริษัท (Intranet) เพื่อส่งข่าว หรือประกาศสำคัญๆ ต่างๆ หรือ ฐานข้อมูลความรู้ (Knowledge Base) เพื่อให้พนักงานเข้าถึงได้

ฟังข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่ :

ประโยชน์ของ Google Apps

Google Apps เป็นชุดโปรแกรม ที่รวบรวมแอพพลิเคชั่นต่างๆ ที่คุณเคยใช้ของ Google
และยังเพิ่มเติมความสามารถอื่นๆ เพื่อให้ใช้งานได้อย่างเหมาะสม ในธุรกิจ องค์กร หรือหน่วยงานของคุณ / โปรแกรมตัวเอกของ Google Apps คือ Gmail ซึ่งเป็นแอพพลิเคชั่นประเภท Web-based E-mail / ในบัญชี Gmail ปกติ คุณจะได้นามสกุล @gmail.com ต่อท้าย แต่หากเป็นบัญชีของ Google Apps / คุณสามารถปรับแต่ง E-mail ของคุณ ให้ตรงกับองค์กร หรือหน่วยงานของคุณได้เอง

นอกจากนี้ คุณยังได้รับความสามารถทั้งหมดเหมือนกับ บัญชี Gmail ปกติ เช่น เนื้อที่เก็บจดหมายที่ใหญ่มาก ความสามารถค้นหาอีเมลล์ที่ว่องไว และการคุยผ่าน Instant Messaging กับเพื่อนร่วมงานของคุณได้อย่างทันที ผ่าน Gadget พูดคุย / Gmail ทำงานร่วมกันกับ Google Calendar ทำให้คุณมีปฏิทินส่วนตัว หรือ แบ่งปันปฏิทินของคุณกับกลุ่มเพื่อนร่วมงานได้ / Gmail สามารถตรวจจับเนื้อหาในอีเมลล์ที่เป็นนัดหมาย และพร้อมให้คุณสร้างนัดหมายนั้น ลงใน Google Calendar ได้ทันที / Gmail สามารถเปิดไฟล์เอกสาร หรือ Spreadsheet ได้เลยใน Web Browser ของคุณ ผ่านโปรแกรม Google Docs และ Google Spreadsheet / Google Docs ทำให้คุณสร้างเอกสารได้อย่างง่ายๆ และแก้ไขมันบน Web Browser ของคุณ ที่เจ๋งก็คือ คุณสามารถทำงานร่วมกันกับคนอื่นได้ แบบ Real-time / Google Apps Startpage เป็นจุดศูนย์รวมของ พนักงานในองค์กร ทำให้ผู้ใช้แต่ละคนเห็น อีเมลล์ ปฏิทิน และ ข้อมูลสำคัญอื่นๆ / คุณสามารถปรับแต่งหน้านี้ได้เอง เพียงแค่เลือก Gadget ต่างๆ และลากไปวางในตำแหน่งที่คุณต้องการ / เพราะว่าทุกอย่างใน Google Apps นั้น ออนไลน์ คุณสามารถเข้า Google Apps อย่างปลอดภัยได้จากทุกๆ ที่ ไม่ว่าจะเป็นที่บ้าน ที่คอนโด ที่ทำงาน หรือแม้แต่มือถือของคุณ / การนำ Google Apps ไปใช้งานในองค์กร หรือหน่วยงานของคุณนั้นง่ายมาก แค่ใช้การปรับแต่งโดเมนเพียงเล็กน้อย หรือ หากคุณยังไม่มีโดเมนเป็นของตัวเอง เราก็พร้อมสร้างมันให้คุณได้ทันที / ถ้าคุณต้องการนำ Google Apps ไปใช้ในธุรกิจของคุณ เพียงแค่บอกเรื่องนี้ ให้กับฝ่ายไอที ของบริษัทคุณทราบ โดยการส่ง Clip VDO นี้ให้เขาดู หรือถ้าคุณเป็นคนดูแลเรื่องนี้เองอยู่แล้ว ก็อย่าได้ลังเลที่จะสมัครใช้งาน เพราะไม่มีค่าใช้จ่าย และใช้เวลาไม่เกิน 1 นาที! ขอบคุณครับ

อ้างถึงแหล่งข้อมูลจาก www.mapleday.com

โพสท์ใน Google Apps คืออะไร, Uncategorized | ใส่ความเห็น

ภาพทิวทัศน์สวยงาม

คลังรูปนี้ประกอบด้วย รูป 4

คลังรูปเพิ่มเติม | ใส่ความเห็น

ทะเลแดง

ทะเลแดง (อังกฤษ: Red Sea; อาหรับ: البحر الأحمر อัลบะฮฺรุ อัลอะฮฺมัร‎; ฮีบรู: Yam Suf‎) เป็นอ่าวในมหาสมุทรอินเดีย แบ่งระหว่างทวีปแอฟริกากับทวีปเอเชีย โดยทะเลแดงเชื่อมกับมหาสมุทรอินเดียที่อ่าวเอเดน (Gulf of Aden) ทะเลแดงมีความยาวประมาณ 1900 กิโลเมตร และกว้างประมาณ 300 กิโลเมตร ร่องทะเลที่ลึกที่สุดประมาณ 2,500 เมตร และความลึกเฉลี่ยประมาณ 500 เมตร
ทะเลแดงมีชื่ออื่นคือ อ่าวอาหรับ (Arabian Gulf) ซึ่งเรียกกันก่อนสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 20 ชื่อทะเลแดงไม่ได้หมายถึงสีของน้ำทะเล แต่หมายถึงสีของแบคทีเรียชนิดหนึ่งบริเวณผิวน้ำ

โพสท์ใน Uncategorized | ใส่ความเห็น

วีดีโอ

โพสท์ใน Uncategorized | ใส่ความเห็น